ทีอีเอ็มดีบี
Advertisement
โชคสองชั้น
โชคสองชั้น
กำกับ ขุนอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ)
อำนวยการสร้าง มานิต วสุวัต
ประพันธ์-เขียนบท หลวงบุณยมานพพานิช
(อรุณ บุณยมานพ)
นำแสดงโดย หม่อมหลวงสุดจิตร์ อิศรางกูร
มานพ ประภารักษ์
อุทัย อินทรวงษ์
มงคล สุมนนัฏ
สำราญ วานิช
อาเธอร์ ม่วงดี
กำกับภาพ หลวงกลการเจนจิต
ลำดับภาพ กระเศียร วสุวัต
กำกับศิลป์ มานิต วสุวัต
บริษัทผู้สร้าง กรุงเทพ ภาพยนตร์ บริษัท
วันที่เข้าฉาย 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
ความยาว 90 นาที (ปัจจุบันเหลือ 1 นาที)
ระบบถ่ายทำ 35 มม. / ขาวดำ / เงียบ / 6 ม้วน

โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างและผลิตโดยคนไทยทั้งหมด ผลิตโดย กรุงเทพ ภาพยนตร์ บริษัท (ต่อมาคือ บริษัทภาพยนตร์ศรีกรุง) ของมานิต วสุวัต ร่วมกับคณะนักหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง เข้าฉายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2470 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร มีจำนวนผู้ชมสูงสุด 4 คืน กับ 1 วัน เท่ากับ 12,130 คน ทำลายสถิติเมื่อสี่ปีก่อนหน้า ของภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ

ปัจจุบันหนังเรื่องนี้ได้รับความเสียหายจากความเสื่อมสภาพ โดยหอสมุดแห่งชาติได้ค้นพบฟิล์มและพิมพ์สำเนาใหม่เอาไว้ได้เพียง 42 ฟุต คิดเป็นภาพนิ่งทั้งหมด 1,319 ภาพ รวมความยาวประมาณ 1 นาที และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรด­กภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2555

ที่มา

ในช่วงที่นายมานิต วสุวัติ เจ้าของหนังสือพิมพ์ศรีกรุง และเป็นเพื่อนสนิทด้วย ออกหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า Liberty แสงทองได้รับคำชวนให้ร่วมงานเขียนในค่ายหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงสุนทรอัศวราช ข้าราชการถูกดุลย์กับคณะ กำลังก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยและประกาศสร้างหนังไทยเรื่องแรก แต่ประสบปัญหาระหว่างการดำเนินการ หลวงกลการเจนจิต หัวหน้ากองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟที่หลวงสุนทรอัศวราชติดต่อวางตัวเพื่อจ้างให้เป็นทีมช่างถ่ายภาพยนตร์ที่รอความคืบหน้า หมดความอดทน จึงปรึกษากับคณะพี่น้องวสุวัตที่ประสงค์จะสร้างภาพยนตร์ไทย จึงรวมคนและเตรียมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ก่อนการสร้างภาพยนตร์ พี่น้องวสุวัติเข้าปรึกษากับนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ผู้จัดการใหญ่โรงภาพยนตร์ เพื่อตกลงความร่วมมือในการก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์ขึ้นมา ชื่อ บริษัท กรุงเทพฯ ภาพยนตร์ มีทีมงานอ่าง หลวงกลการเจนจิต และนายกระเศียร วสุวัต แห่งกรมรถไฟหลวง รวมทั้งขุนอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ข้าราชการกรมรถไฟหลวง ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเลขานุการของกรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้คอยตามเสด็จไปดูงานในต่างประเทศ รวมถึงการดูงานกิจการโรงถ่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูดมาแล้วด้วย ซึ่งมารับเป็นผู้กำกับการแสง และได้แสงทอง หรือ หลวงบุณยมานพพานิช เป็นเจ้าของงานประพันธ์

โครงเรื่อง

ผู้แสดง รับบทเป็น
ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร วลี ลาวัณยลักษณ์
มานพ ประภารักษ์ กมล มาโนช
พระยาพิชัยสิทธิเดช อุทัย อินทรวงศ์
มงคล สุมนนัฎ วิง ธงสี
สำราญ วานิช ประยงค์ ไชยมิต
อาเธอร์ ม่วงดี คำ สายัณห์

นายกมล มาโนช (แสดงโดยมานพ ประภารักษ์) พระเอกของเรื่อง เป็นนายอำเภอหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับมอบหมายให้ลงมาสืบจับผู้ร้ายคนหนึ่งซึ่งซ้อนตัวอยู่ในกรุงเทพ นายกมลเข้ามาพักอยู่ที่บ้านพระยาพิชัย (แสดงโดย อุทัย อินทร์วงศ์) และมีหลานชื่อว่า นางสาววลี ลาวัณยลักษณ์ (แสดงโดย หม่อมหลวงสุดจิตตร์ อิศรางกูร) ซึ่งทั้งสองได้พับรักกันโดยเร็ว แต่นายวิง ธงสี (แสดงโดย มงคล สุมนนัฏ) ซึ่งหมายปองนางสาววลีอยู่แล้วและชอบไปมาหาสู่พระยาพิชัยเป็นเนือง ๆ และนายวิงคนนี้ก็คือคนร้ายที่นายกมลกำลังสืบจับอยู่นั่นเอง นายวิงไหวตัวทันเรื่องนายกมลตามคนร้าย จากนั้นนางวิงก็วางแผนร้ายโดยส่งพรรคพวกลูกสมุนเข้ามาทำร้ายนายกมล แต่นายกมลมีความชำนาญในการระวังภัยจากโจร จึงต่อกรขัดขวางกำลังได้ จนนายวิงและพรรคพวกต้องหลบหนีไป นายกมลไล่ตามจับแต่เกิดหลงทาง

นายวิงได้วกกลับมาที่บ้านพระยาพิชัยและจับนางสาววลีไป แต่นายกมลมีเชาวน์ที่ดี เข้าใจว่าเป็นแผนลวง จึงวกกลับบ้านพระยาพิชัย และได้พบนายวิง นายกมลจึงตามล่านายวิงไปจนสุดทางและเกิดการต่อสู้ขึ้น จนกระทั่งตำรวจที่พระยาพิชัยโทรไปแจ้งมาสมทบร่วมจับนายวิงและสมุนได้ทันเวลา นายวิงจึงถูกตำรวจจับเข้าตะราง ส่วนนายกมลมีโชคสองชั้น นอกจากจะจับผู้ร้ายได้แล้วยังได้นางสาววลีมาเป็นภรรยาอีกด้วย

Advertisement